Flyff Chinese Index Finger Point Flyff Chinese Index Finger Point

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562


เพลง สวัสดีคุณครู

เพลง แปรงฟัน

เพลง ล้างมือ

เพลง อาหาร

เพลง มากินข้าว


เพลง 1 ปี มี 12 เดือน

เพลง ไปโรงเรียน

เพลง สวดมนต์

เพลง ลาก่อน


Learning Log 14
     ☀ Monday, November 28, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


💡 The knowledge gained
     วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาที่เหลือเตรียมแผนการสอนเสริมประสบการณ์ และเตรียมสื่ออุปกรณ์ต่างๆของเราเอง โดยเฉลี่ยคนละ 20 นาที
การสอนเสริมประสบการณ์
ขั้นนำ » เลือกเทคนิคในขั้นนี้ เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย การต่อภาพจิ๊กซอว์ เป็นต้น และนำเข้าสู่บทเรียนถามประสบการณ์เดิมเด็ก
การร้องเพลง »  1) ครูอ่านเนื้อเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ 
                            2) ครูอ่านเนื้อเพลงให้เด็กฟังทีละวรรค เด็กอ่านตามครูทีละวรรค
                            3) ครูร้องเพลงให้เด็กฟัง 1 รอบ
                            4) เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงพร้อมกัน
คำคล้องจอง »   1) ครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟัง 1 รอบ
                            2) ครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟังทีละวรรค เด็กอ่านตามครูทีละวรรค
                            3) เด็กและครูร่วมกันอ่านคำคล้องจอง
ขั้นสอน » เป็นขั้นตอนที่เพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิมเพื่อขยายประสบการณ์ใหม่ให้กับเด็กที่จะเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสรุป » เด็กและครูร่วมกันสรุปเนื้อหาหรือหน่วยที่เรียนรู้ เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนว่าเด็กเข้าใจหรือไม่

1. นางสาวอริสา กุณารบ
สอนหน่วย ธรรมชาติรอบตัว 
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการเล่านิทานเรื่อง เด็กเลี้ยงแกะ
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกประเภทสิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิต
คำแนะนำจากอาจารย์  » ควรมีขั้นนำในการเริ่มสอนเด็ก ถามประสบการณ์เดิมจากเด็ก และเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน 

2. นางสาวเพ็ญประภา บุญมา
สอนหน่วย สัปปะรด 
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคปริศนาคำทาย
ขั้นสอน » ให้เด็กสังเกตและสัมผัสสัปปะรด จากนั้นนำบัตรคำไปติดส่วนต่างๆตรงภาพสัปปะรด
คำแนะนำจากอาจารย์ » การปรับเปลี่ยนคำพูดในการสอน ลักณษะ แทน ส่วนประกอบ

3. นางสาวชานิสา หุ้ยทั่น
สอนหน่วย อาชีพ
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการร้องเพลง อาชีพต่างๆ
ขั้นสอน » ให้เด็กนำภาพที่เลือกบอกอาชีพ หน้าที่ 
คำแนะนำจากอาจารย์ » ขยายประสบการณ์เดิมจากเด็ก

4. นางสาวอรอุมา ศรีท้วม
สอนหน่วย ครอบครัว
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการร้องเพลง บ้านของฉัน
ขั้นสอน » ให้เด็กนำภาพมาติดสมาชิกในครอบครัว และหน้าที่ที่เด็กปฏิบัติในบ้าน
คำแนะนำจากอาจารย์ » ขยายประสบการณ์เด็กก่อนเข้าสู่การสอน 

5. นางสาวธิดาพร ศึกชัย
สอนหน่วย สัตว์
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการเล่านิทาน เรื่องป๋องแป๋ง
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกประเภทและนำภาพมาติดสัตว์เลี้ยงในบ้าน และสัตว์ป่า
คำแนะนำจากอาจารย์ » บัตรคำและภาพ ปรับวิธีการสอนในส่วนของการแยกประเภทควรแยกให้ดูชัดเจนกว่านี้

6. นางสาววรรณภา ผังดี
สอนหน่วย วันสงกรานต์
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการเล่านิทาน 
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกพฤติกรรมในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในวันสงกราต์
คำแนะนำจากอาจารย์ » เทคนิคขั้นนำการเล่านิทานควรมีนิทานหรือมีสื่อให้เด็กดู

7. นางสาวจุฬารัตน์ เปี่ยมวารี
สอนหน่วย วันลอยกระทง
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการร้องเพลง วันลอยกระทง
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกพฤติกรรมในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในลอยกระทง
คำแนะนำจากอาจารย์ » เทคนิคขั้นนำการร้องเพลงควรใช้เพลงที่ไม่ยาวเกินไป เนื้อเพลงสั้น เด็กร้องตามได้ง่าย และบัตรภาพ บัตรคำควรมีขนาดที่ใหญ่เด็กมองเห็นได้ง่าย

8. นายปฎิพาณ จินดาดวง
สอนหน่วย ครอบครัว
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการร้องเพลง บ้านของฉัน
ขั้นสอน » ให้เด็กนำภาพมาติดสมาชิกในครอบครัวตามแผนผัง
คำแนะนำจากอาจารย์ » ขั้นการสอนและการเรียบเรียงคำพูด

9. นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย
สอนหน่วย ยานพาหนะ
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคให้เด็กออกมาติดภาพต่อเติมยานพาหนะ และสนทนากับเด็ก
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกประเภทและนำภาพมาติดยานพาหนะแต่ละประเภท
คำแนะนำจากอาจารย์ » ขั้นการถามประสบการณ์เดิมจากเด็ก

10. นางสาวทิพยวิมล นวลอ่อน
สอนหน่วย ข้าว
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการอ่านคำคล้องจอง ชนิดของข้าว
ขั้นสอน » ให้เด็กสังเกตลักษณะของข้าว และเปรียบเทียบข้าวแต่ละชนิด
คำแนะนำจากอาจารย์ » เรื่องการแบ่งลักษณะของข้าวควรชัดเจนกว่านี้ 

11. นางสาวสุพรรษา มีอุตส่าห์
สอนหน่วย ฝน
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการร้องเพลง ฝน
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง
คำแนะนำจากอาจารย์ » เรื่องคำพูดในการสอน ขั้นนำก่อนเข้าสู่บทเรียน ถามประสบการณ์เดิมเด็ก
12. นางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา
สอนหน่วย กล้วย
ขั้นนำ » ใช้เทคนิคการร้องเพลง กล้วย
ขั้นสอน » ให้เด็กแยกชนิดของกล้วย
คำแนะนำจากอาจารย์ » เรื่องคำพูดในการสอน การปรับคำพูดในกระชับ และเรื่องของการวางสื่อให้เด็กดู
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

Teacher Evaluation : อาจารย์ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาได้ดี สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้
Self-assessment : เข้าเรียนตรงเวลา และสอนได้ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร และจะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับปรุงแก้ไขค่ะ
Evaluate friends  : เพื่อนๆสอนได้ดี
Learning Log 13
     ☀ Monday, November 25, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


💡 The knowledge gained
     จากที่สอบถามเพื่อนๆที่เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆเตรียมแผนการสอนเสริมประสบการณ์ และเตรียมสื่ออุปกรณ์ต่างๆของเราเอง โดยเฉลี่ยสอนคนละ 20 นาที
การสอนเสริมประสบการณ์
ขั้นนำ » เลือกเทคนิคในขั้นนี้ เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย การต่อภาพจิ๊กซอว์ เป็นต้น และนำเข้าสู่บทเรียนถามประสบการณ์เดิมเด็ก
การร้องเพลง »  1) ครูอ่านเนื้อเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ 
                            2) ครูอ่านเนื้อเพลงให้เด็กฟังทีละวรรค เด็กอ่านตามครูทีละวรรค
                            3) ครูร้องเพลงให้เด็กฟัง 1 รอบ
                            4) เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงพร้อมกัน
คำคล้องจอง »   1) ครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟัง 1 รอบ
                            2) ครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟังทีละวรรค เด็กอ่านตามครูทีละวรรค
                            3) เด็กและครูร่วมกันอ่านคำคล้องจอง
ขั้นสอน » เป็นขั้นตอนที่เพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิมเพื่อขยายประสบการณ์ใหม่ให้กับเด็กที่จะเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสรุป » เด็กและครูร่วมกันสรุปเนื้อหาหรือหน่วยที่เรียนรู้ เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนว่าเด็กเข้าใจหรือไม่
💡 Evaluation
Teacher Evaluation : - 
Self-assessment : ดิฉันลาอาจารย์เนื่องจากป่วยค่ะ
Evaluate friends  :  -
Learning Log 12
     ☀ Monday, November 18, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


💡 The knowledge gained
กรวยแห่งการเรียนรู้ The cone of learning 💬
📖 เนื้อหาที่อ่าน 10% 
👂 การเรียนรู้ด้วยการฟังจดจำได้ 20% 
👀 การได้เห็น จะจดจำสิ่งที่เห็น 30% 
👀👂 ทั้งดูและฟัง จะจดจำสิ่งที่เราเห็นได้ยิน 50%


ทักษะ EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 
2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 
5. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 
6. การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 
7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 
8. การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) 
9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) 

💡 Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์สอนและอธิบายได้เข้าใจง่าย นักศึกษาเข้าใจง่าย
Self-assessment เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดตามที่อาจารย์สอน 
Evaluate friends  วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน 
Learning Log 11
     ☀ Monday, November 11, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


💡 The knowledge gained
     ก่อนเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาพูดสิ่งที่สะท้อนตนเองในสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในตัวเรา 
สิ่งที่สะท้อนตนเองที่ต้องปรับปรุงแก้ไข - ตัวดิฉัน - 
ในตัวดิฉันต้องปรับปรุงในเรื่องของความกล้าแสดงออกมากกว่านี้ และเรียบเรียงคำพูดให้ดูสละสลวยมากกว่านี้ กล้าที่จะตอบคำถามอาจารย์
เข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน : อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องทักษะของ EF การทำงานของสมองในเด็กปฐมวัย และการเรียนรู้แบบไฮสโคป



🌻 การจัดแบ่งพื้นที่ 5 ส่วนภายในห้องเรียน ตามแนวคิดไฮสโคป
1) พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก เช่น ผ้ากันเปื้อน แปรงสีฟันแก้วนํ้า ฯลฯ อาจจะเป็นตู้ยาวแยกเป็นช่องรายบุคคล หรือชั้นวางของเป็นช่องๆ โดยมีชื่อเด็กติดแสดงความเป็นเจ้าของ
2) พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น กิจกรรมฟังนิทาน ร้องเพลงเคลื่อนไหว ฯลฯ ที่ทําร่วมกันทั้งชั้นเรียน
3) พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมศิลปะร่วมมือ กิจกรรมทําหนังสือนิทานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-6 คน ทั้งนี้เพื่อครูจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น
4) พื้นที่สําหรับมุมเล่น ไฮสโคปได้กําหนดให้มี มุมพื้นฐาน 5 มุม ประกอบด้วย มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมศิลปะ และมุมของเล่น ซึ่งหมายถึงเครื่องเล่นสัมผัส เกมและของเล่นบนโต๊ะ 
5) พื้นที่เก็บของใช้ครู เช่น หนังสือ คู่มือครู เอกสารโปรแกรมสื่อการสอนส่วนรวมของชั้นเรียน เช่น วัสดุศิลปะต่างๆ เป็นต้น
🌻 การจัดมุมให้เด็ก 5 มุมพื้นฐาน ดังนี้
1) มุมบ้าน หรือ มุมบทบาทสมมติ
2) มุมบล็อค
3) มุมของเล่น เครื่องเล่นสัมผัส
4) มุมภาษา
5) มุมศิลปะ
🌻 วงล้อแห่งการเรียนรู้ไฮสโคป
วงล้อแห่งการเรียนรู้ไฮสโคปประกอบด้วย 5 เรื่องด้วยกัน  ดังนี้
1) การเรียนรู้แบบ Active learning  
2) เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก  
3) เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
4) การจัดกิจวัตรประจำวัน ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องของการจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน 
5) การประเมินพัฒนาการ
🌻 ปฏิสัมพันธ์ของครูในการแก้ปัญหาเด็ก ตามแนวคิดไฮสโคป (ในกรณีที่เด็กแย่งของเล่นกัน)
1) อย่างแรกต้องสงบจิตใจตัวผู้สอนเอง
2) รับรู้ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ของเด็กซักถามเด็ก ตัวอย่างเช่น ครูเข้าใจหนูนะ
3) สืบค้นข้อมูลต่างๆของเด็ก ตัวอย่างเช่น เกิดไรขึ้นคะ ใจเย็นๆ ไหนลองเล่าให้ครูฟังซิคะ
4) หาทางแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น ไหนลองคิดซิคะเราจะทำอย่างไรกันดี ครูจะลองทำตามที่หนูเล่ามานะคะ เป็นต้น


     จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม ฝึกการฟังจังหวะเสียงเพลง แล้วทำท่าทางตามอิสระ ตัวแทนเพื่อน 1 คน เข้าไปยืนในวงกลมฟังจังหวะเพลงและทำท่าทางตามอิสระและให้เพื่อนที่อยู่นอกวงทำตาม ถ้าเพลงเปลี่ยนจังหวะให้เพื่อนที่อยู่ในวงไปยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนนอกวงและให้เพื่อนทำท่าทางตาม ทำแบบนี้ต่อแถวไปเรื่อยๆ


🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒
💡 Evaluation
Teacher Evaluation : วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาพูดสิ่งที่สะท้อนตนเองในสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในตัวเรา และอาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะต้องช่วยกันย้ายของไปตึกใหม่
Self-assessment เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดตามที่อาจารย์สอน และช่วยเพื่อนๆยกของไปที่ตึกใหม่
Evaluate friends  วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และช่วยกันยกของย้ายไปตึกใหม่
Learning Log 10
     ☀ Monday, October 28, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 16.30 PM

💡 The knowledge gained
     วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่องสารนิทัศน์ พัฒนาการในช่วงอายุต่างๆของเด็กในการเล่น Blog , พัฒนาการในช่วงอายุต่างๆของเด็กในการใช้กรรไกร , ผังกราฟิก และเพลงต่างๆในการเก็บเด็ก


ก่อนเข้าสู้เนื้อหาในการเรียนรู้ ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม ได้ให้นักศึกษาผ่อนคลายโดยออกกำลังกายตามจังหวะเสียงเพลง และร้องเพลงเก็บเด็กพร้อมทำท่าประกอบ
📢 เพลงบอกว่าน่ารักจัง
บอกกับคนซ้ายมือ ว่าน่ารักจัง  
บอกกับคนขวามือ ว่าน่ารักจัง  
บอกกับเพื่อนทุกคน ทุกๆคน
บอกกับเพื่อนทุกคน ไม่เว้นสักคน 
บอกกับเพื่อนทุกคน ทุกคน  บอกว่าน่ารักจัง

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤
สารนิทัศน์  💬
    สารนิทัศน์ หมายถึง การเก็บข้อมูล หลักฐาน เอกสาร มาเรียบเรียงเป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูนำมาไตร่ตรอง สะท้อนความคิดและประเมินตนเอง เพื่อนำไปพัฒนาครูและผู้เรียน

- คุณค่า และความสำคัญ
1. ครูที่จัดทำสารนิทัศน์สอนเด็กผ่าน "ประสบการณ์ตรง" (ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5)
2. ช่วยให้การสอนและการทำงานของครูมี "ประสิทธิภาพ" (ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้เต็มความสามารถ)
3. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก


ศักยภาพ ความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวเด็ก
หน้าที่ครู จัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงความสามารถออกมา

4. เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
5. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครู และบทบาทครู

- รูปแบบการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
    1.1 หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นภาพรวมทั้งชั้นเรียน
    1.2 หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นรายบุคคล เช่น ชิ้นงานเด็ก บันทึกคำพูดของเด็ก เป็นต้น
2. หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู

- กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ (สารนิทัศน์)
3. การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผน (การไตร่ตรอง)
4. การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ

- กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่

- ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ 
2. การสังเกตพัฒนาเด็ก บันทึกพฤติกรมม (บันทึกสั้น)
3. พอร์ตฟอลิโอ
4. ผลงานเด็กเป็นรายบุคล / ผลงานเด็กแบบเป็นกลุ่มใหญ่
5. การสะท้อนตนเอง


📷 ภาพกิจกรรมการเขียนสะท้อนตนเอง และพัฒนาการการใช้กรรไกร


- พัฒนาการเล่น Blog
ขั้น 1 สำรวจถือไปมา ช่วงอายุ 3 ปี
ขั้น 2 ใช้บล็อกต่อเป็นแนวตั้ง / แนวนอน ช่วงอายุ 3-4 ปี
ขั้น 3 ต่อเป็นสะพาน ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
ขั้น 4 ต่อล้อมรอบ ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
ขั้น 5 ต่อเป็นสมมาตร ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
ขั้น 6 สร้างสิ่งต่างๆให้ชื่อสิ่งที่ก่อสร้าง
ขั้น 7 สร้างและเล่นบทบาทสมมติ ช่วงอายุ 5-6 ปี

- ขั้นพัฒนาการการใช้กรรไกร
1. ตัดทีละนิด ตัดกระดาษไม่ขาดกัน ช่วงอายุ 2-3 ปี
2. ตัด ตัดกระดาษอย่างอิสระ ช่วงอายุ 3 ปี
3. ตัดตามเส้น ช่วงอายุ 3-4 ปี
4. ตัดซิกแซก เส้นโค้ง ช่วงอายุ 4-5 ปี
5. ตัดภาพ ช่วงอายุ 5-6 ปี

- ประเภท / ตัวอย่างของผังกราฟฟิก มี 5 ลักษณะ ดังนี้
1. ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด Wed diagram
2. ผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ 
     2.1 Vem diagram
ภาพตัวอย่าง

      2.2 T - Chart แสดงความเหมือนต่างของสิ่งที่ศึกษา
          2.2.1 One Tail T - Chart ช่วงอายุ 3-4 ปี 

ภาพตัวอย่าง
          2.2.2 Two Tail T - Chart ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
3. ผังกราฟิกแสดงความเชื่อมโยงของสาเหตุและผล เช่น ผังใยแมงมุม

ภาพตัวอย่าง

4. ผังกราฟิกที่นำเสนอข้อมูลมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล
    4.1 ผังลูกโซ่
     4.2 ผังวัฏจักร
ภาพตัวอย่าง
5. ผังกราฟิกแบบจัดกลุ่ม / จำแนกประเภท เช่น แผนภูมิต้นไม้

ภาพตัวอย่าง

คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย แยกเป็น 2 ประเภท
1. คำถามที่ถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน เป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงทบทวนความรู้และการให้ความหมาย คำถามประเภทนี้ ได้แก่
    1.1 คำถามให้สังเกต 
          เช่น จากการที่ครูผ่าส้มผลนี้เด็กๆเห็นอะไรบ้าง ? 
    1.2 คำถามทบทวนความจำ 
          เช่น เมื่อวันจันทร์เราฟังนิทานเรื่องอะไร ?
    1.3 คำถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ 
          เช่น โรงเรียน หมายความว่าอะไร ?
    1.4 คำถามบ่งชี้ 
          เช่น เด็กๆคิดว่าใครผมยาวที่สุดในห้องเรียนของเรา ?
2. คำถามเพื่อการคิดค้นและขยายความคิด เป็นคำถามที่มุ่งเน้นให้เด็กใช้ความคิด โดยอาจนำความรู้และประสบการณ์เดินเป็นพื้นฐานในการคิด ได้แก่
    2.1 คำถามให้อธิบาย 
          เช่น เด็กนักเรียนมีหน้าที่อย่างไร ?
    2.2 คำถามให้เปรียบเทียบ 
          เช่น ผลไม้กับขนมหวาน อย่างใดมีประโยชน์ต่อร่างกาย ?
    2.3 คำถามจำแนก 
          เช่น เด็กๆมีตุ๊กตากี่ชนิด ?
    2.4 คำถามให้ยกตัวอย่าง 
          เช่น สัตว์เลี้ยงในบ้านมีอะไรบ้าง ?
    2.5 คำถามให้สรุป 
          เช่น นิทานเรื่องนี้สอนเด็กๆในเรื่องอะไรบ้าง ?
    2.6 คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ 
          เช่น ถ้าให้เด็กๆเลือก อยากเป็นใครในนิทาน ?

💡 Evaluation
Teacher Evaluation : วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้แก่นักศึกษา อาจารย์เป็นกันเอง สนุกสนาน และให้ความรู้ได้เข้าใจและดีมากค่ะ
Self-assessment : ดิฉันเข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังและจดตามที่ ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม ได้อธิบายเรื่องต่างๆ ทำให้ได้รับความรู้เกินเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจฟัง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมค่ะ
Learning Log 9

     ☀ Monday, October , 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


     ในสัปดาห์นี้ดิฉันลากิจค่ะ เนื่องจากมีธุระทางบ้าน