Flyff Chinese Index Finger Point Flyff Chinese Index Finger Point

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 11
     ☀ Monday, November 11, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


💡 The knowledge gained
     ก่อนเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาพูดสิ่งที่สะท้อนตนเองในสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในตัวเรา 
สิ่งที่สะท้อนตนเองที่ต้องปรับปรุงแก้ไข - ตัวดิฉัน - 
ในตัวดิฉันต้องปรับปรุงในเรื่องของความกล้าแสดงออกมากกว่านี้ และเรียบเรียงคำพูดให้ดูสละสลวยมากกว่านี้ กล้าที่จะตอบคำถามอาจารย์
เข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน : อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องทักษะของ EF การทำงานของสมองในเด็กปฐมวัย และการเรียนรู้แบบไฮสโคป



🌻 การจัดแบ่งพื้นที่ 5 ส่วนภายในห้องเรียน ตามแนวคิดไฮสโคป
1) พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก เช่น ผ้ากันเปื้อน แปรงสีฟันแก้วนํ้า ฯลฯ อาจจะเป็นตู้ยาวแยกเป็นช่องรายบุคคล หรือชั้นวางของเป็นช่องๆ โดยมีชื่อเด็กติดแสดงความเป็นเจ้าของ
2) พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น กิจกรรมฟังนิทาน ร้องเพลงเคลื่อนไหว ฯลฯ ที่ทําร่วมกันทั้งชั้นเรียน
3) พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมศิลปะร่วมมือ กิจกรรมทําหนังสือนิทานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-6 คน ทั้งนี้เพื่อครูจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น
4) พื้นที่สําหรับมุมเล่น ไฮสโคปได้กําหนดให้มี มุมพื้นฐาน 5 มุม ประกอบด้วย มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมศิลปะ และมุมของเล่น ซึ่งหมายถึงเครื่องเล่นสัมผัส เกมและของเล่นบนโต๊ะ 
5) พื้นที่เก็บของใช้ครู เช่น หนังสือ คู่มือครู เอกสารโปรแกรมสื่อการสอนส่วนรวมของชั้นเรียน เช่น วัสดุศิลปะต่างๆ เป็นต้น
🌻 การจัดมุมให้เด็ก 5 มุมพื้นฐาน ดังนี้
1) มุมบ้าน หรือ มุมบทบาทสมมติ
2) มุมบล็อค
3) มุมของเล่น เครื่องเล่นสัมผัส
4) มุมภาษา
5) มุมศิลปะ
🌻 วงล้อแห่งการเรียนรู้ไฮสโคป
วงล้อแห่งการเรียนรู้ไฮสโคปประกอบด้วย 5 เรื่องด้วยกัน  ดังนี้
1) การเรียนรู้แบบ Active learning  
2) เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก  
3) เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
4) การจัดกิจวัตรประจำวัน ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องของการจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน 
5) การประเมินพัฒนาการ
🌻 ปฏิสัมพันธ์ของครูในการแก้ปัญหาเด็ก ตามแนวคิดไฮสโคป (ในกรณีที่เด็กแย่งของเล่นกัน)
1) อย่างแรกต้องสงบจิตใจตัวผู้สอนเอง
2) รับรู้ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ของเด็กซักถามเด็ก ตัวอย่างเช่น ครูเข้าใจหนูนะ
3) สืบค้นข้อมูลต่างๆของเด็ก ตัวอย่างเช่น เกิดไรขึ้นคะ ใจเย็นๆ ไหนลองเล่าให้ครูฟังซิคะ
4) หาทางแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น ไหนลองคิดซิคะเราจะทำอย่างไรกันดี ครูจะลองทำตามที่หนูเล่ามานะคะ เป็นต้น


     จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม ฝึกการฟังจังหวะเสียงเพลง แล้วทำท่าทางตามอิสระ ตัวแทนเพื่อน 1 คน เข้าไปยืนในวงกลมฟังจังหวะเพลงและทำท่าทางตามอิสระและให้เพื่อนที่อยู่นอกวงทำตาม ถ้าเพลงเปลี่ยนจังหวะให้เพื่อนที่อยู่ในวงไปยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนนอกวงและให้เพื่อนทำท่าทางตาม ทำแบบนี้ต่อแถวไปเรื่อยๆ


🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒
💡 Evaluation
Teacher Evaluation : วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาพูดสิ่งที่สะท้อนตนเองในสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในตัวเรา และอาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะต้องช่วยกันย้ายของไปตึกใหม่
Self-assessment เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดตามที่อาจารย์สอน และช่วยเพื่อนๆยกของไปที่ตึกใหม่
Evaluate friends  วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และช่วยกันยกของย้ายไปตึกใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น