Flyff Chinese Index Finger Point Flyff Chinese Index Finger Point

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 10
     ☀ Monday, October 28, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 16.30 PM

💡 The knowledge gained
     วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่องสารนิทัศน์ พัฒนาการในช่วงอายุต่างๆของเด็กในการเล่น Blog , พัฒนาการในช่วงอายุต่างๆของเด็กในการใช้กรรไกร , ผังกราฟิก และเพลงต่างๆในการเก็บเด็ก


ก่อนเข้าสู้เนื้อหาในการเรียนรู้ ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม ได้ให้นักศึกษาผ่อนคลายโดยออกกำลังกายตามจังหวะเสียงเพลง และร้องเพลงเก็บเด็กพร้อมทำท่าประกอบ
📢 เพลงบอกว่าน่ารักจัง
บอกกับคนซ้ายมือ ว่าน่ารักจัง  
บอกกับคนขวามือ ว่าน่ารักจัง  
บอกกับเพื่อนทุกคน ทุกๆคน
บอกกับเพื่อนทุกคน ไม่เว้นสักคน 
บอกกับเพื่อนทุกคน ทุกคน  บอกว่าน่ารักจัง

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤
สารนิทัศน์  💬
    สารนิทัศน์ หมายถึง การเก็บข้อมูล หลักฐาน เอกสาร มาเรียบเรียงเป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูนำมาไตร่ตรอง สะท้อนความคิดและประเมินตนเอง เพื่อนำไปพัฒนาครูและผู้เรียน

- คุณค่า และความสำคัญ
1. ครูที่จัดทำสารนิทัศน์สอนเด็กผ่าน "ประสบการณ์ตรง" (ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5)
2. ช่วยให้การสอนและการทำงานของครูมี "ประสิทธิภาพ" (ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้เต็มความสามารถ)
3. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก


ศักยภาพ ความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวเด็ก
หน้าที่ครู จัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงความสามารถออกมา

4. เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
5. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครู และบทบาทครู

- รูปแบบการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
    1.1 หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นภาพรวมทั้งชั้นเรียน
    1.2 หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นรายบุคคล เช่น ชิ้นงานเด็ก บันทึกคำพูดของเด็ก เป็นต้น
2. หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู

- กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ (สารนิทัศน์)
3. การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผน (การไตร่ตรอง)
4. การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ

- กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่

- ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ 
2. การสังเกตพัฒนาเด็ก บันทึกพฤติกรมม (บันทึกสั้น)
3. พอร์ตฟอลิโอ
4. ผลงานเด็กเป็นรายบุคล / ผลงานเด็กแบบเป็นกลุ่มใหญ่
5. การสะท้อนตนเอง


📷 ภาพกิจกรรมการเขียนสะท้อนตนเอง และพัฒนาการการใช้กรรไกร


- พัฒนาการเล่น Blog
ขั้น 1 สำรวจถือไปมา ช่วงอายุ 3 ปี
ขั้น 2 ใช้บล็อกต่อเป็นแนวตั้ง / แนวนอน ช่วงอายุ 3-4 ปี
ขั้น 3 ต่อเป็นสะพาน ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
ขั้น 4 ต่อล้อมรอบ ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
ขั้น 5 ต่อเป็นสมมาตร ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
ขั้น 6 สร้างสิ่งต่างๆให้ชื่อสิ่งที่ก่อสร้าง
ขั้น 7 สร้างและเล่นบทบาทสมมติ ช่วงอายุ 5-6 ปี

- ขั้นพัฒนาการการใช้กรรไกร
1. ตัดทีละนิด ตัดกระดาษไม่ขาดกัน ช่วงอายุ 2-3 ปี
2. ตัด ตัดกระดาษอย่างอิสระ ช่วงอายุ 3 ปี
3. ตัดตามเส้น ช่วงอายุ 3-4 ปี
4. ตัดซิกแซก เส้นโค้ง ช่วงอายุ 4-5 ปี
5. ตัดภาพ ช่วงอายุ 5-6 ปี

- ประเภท / ตัวอย่างของผังกราฟฟิก มี 5 ลักษณะ ดังนี้
1. ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด Wed diagram
2. ผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ 
     2.1 Vem diagram
ภาพตัวอย่าง

      2.2 T - Chart แสดงความเหมือนต่างของสิ่งที่ศึกษา
          2.2.1 One Tail T - Chart ช่วงอายุ 3-4 ปี 

ภาพตัวอย่าง
          2.2.2 Two Tail T - Chart ช่วงอายุ 4 ปีขึ้นไป
3. ผังกราฟิกแสดงความเชื่อมโยงของสาเหตุและผล เช่น ผังใยแมงมุม

ภาพตัวอย่าง

4. ผังกราฟิกที่นำเสนอข้อมูลมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล
    4.1 ผังลูกโซ่
     4.2 ผังวัฏจักร
ภาพตัวอย่าง
5. ผังกราฟิกแบบจัดกลุ่ม / จำแนกประเภท เช่น แผนภูมิต้นไม้

ภาพตัวอย่าง

คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย แยกเป็น 2 ประเภท
1. คำถามที่ถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน เป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงทบทวนความรู้และการให้ความหมาย คำถามประเภทนี้ ได้แก่
    1.1 คำถามให้สังเกต 
          เช่น จากการที่ครูผ่าส้มผลนี้เด็กๆเห็นอะไรบ้าง ? 
    1.2 คำถามทบทวนความจำ 
          เช่น เมื่อวันจันทร์เราฟังนิทานเรื่องอะไร ?
    1.3 คำถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ 
          เช่น โรงเรียน หมายความว่าอะไร ?
    1.4 คำถามบ่งชี้ 
          เช่น เด็กๆคิดว่าใครผมยาวที่สุดในห้องเรียนของเรา ?
2. คำถามเพื่อการคิดค้นและขยายความคิด เป็นคำถามที่มุ่งเน้นให้เด็กใช้ความคิด โดยอาจนำความรู้และประสบการณ์เดินเป็นพื้นฐานในการคิด ได้แก่
    2.1 คำถามให้อธิบาย 
          เช่น เด็กนักเรียนมีหน้าที่อย่างไร ?
    2.2 คำถามให้เปรียบเทียบ 
          เช่น ผลไม้กับขนมหวาน อย่างใดมีประโยชน์ต่อร่างกาย ?
    2.3 คำถามจำแนก 
          เช่น เด็กๆมีตุ๊กตากี่ชนิด ?
    2.4 คำถามให้ยกตัวอย่าง 
          เช่น สัตว์เลี้ยงในบ้านมีอะไรบ้าง ?
    2.5 คำถามให้สรุป 
          เช่น นิทานเรื่องนี้สอนเด็กๆในเรื่องอะไรบ้าง ?
    2.6 คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ 
          เช่น ถ้าให้เด็กๆเลือก อยากเป็นใครในนิทาน ?

💡 Evaluation
Teacher Evaluation : วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้แก่นักศึกษา อาจารย์เป็นกันเอง สนุกสนาน และให้ความรู้ได้เข้าใจและดีมากค่ะ
Self-assessment : ดิฉันเข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังและจดตามที่ ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม ได้อธิบายเรื่องต่างๆ ทำให้ได้รับความรู้เกินเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจฟัง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น