Flyff Chinese Index Finger Point Flyff Chinese Index Finger Point

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 6

     Wednesday, September 18, 2019 🌄
⏰ 13.00 - 16.00 PM


💡 The knowledge gained
    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรมการศึกษาของแต่ละกลุ่ม นวัตกรรมการศึกษามีดังนี้ 
1. STEM       
2. High Scope
3. Executive Functions (EF)
4. Montessori Method
5. Project Approach 
🍒🍓🍒🍓🍒🍓🍒🍓🍒🍓🍒🍓🍒🍓🍒🍓🍒🍓
การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)
ทฤษฏีนี้ริเริ่มโดย ดร.เดวิด ไวคาร์ท
หัวใจของไฮสโคป เน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านการเล่น ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ส่งเสริมให้รู้จักคิดวิเคราะห์ได้และคิดสร้างสรรค์เป็น สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น โดยครูจะเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กเกิดกระบวนการ วางแผน – ลงมือทำ – และทบทวน (Plan – Do - Review)
💗 หัวใจของไฮสโคป
1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร       การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้

2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง 

3. การทบทวน (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
🌵 ภาพกิจกรรมกลุ่ม High Scope




 STEM
        STEM คือ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น

S - Science (วิทยาศาสตร์)
T - Technology (เทคโนโลยี)
E - Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
M - Mathematics (คณิตศาสตร์)
💗 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการได้แก่ 
   (1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ 
   (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ 
   (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
   (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย 
   (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหา  เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอผลงานที่ผ่านการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

💗 องค์ประกอบของสะเต็มที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย 
วิทยาศาสตร์ (Science) เด็กปฐมวัยให้ความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นนักสำรวจ สนใจธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัว สังเกตและตั้งคำถาม อะไร ทำไม อย่างไรเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์กายภาพอาทิ ลักษณะของวัตถุที่มีน้ำหนัก รูปร่าง ขนาด พื้นผิว สีรูปทรง อุณหภูมิโดยใช้ ประสาทสัมผัส การเคลื่อนที่และแรงจากการผลัก การเป่าและการยก เด็กปฐมวัยเรียนรู้ชีวิตของพืชและสัตว์ ในสภาพแวดล้อม

คณิตศาสตร์ (Mathematics) สำหรับความสนใจด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่อง การจำแนก รูปร่าง รูปทรง (พื้นฐานเรขาคณิต) การเปรียบเทียบ และการวัด การจัดลำดับ การนับจำนวนและการใช้ตัวเลข การรวมเข้าด้วยกัน การหยิบออก และการแบ่งสิ่งของให้เพื่อน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ส่วนใหญ่เรียนรู้ผ่านการเล่น สำหรับพีชคณิตในระดับปฐมวัยเรียนรู้จาก การจำแนก และการแบ่งประเภทหรือเรียกว่าการจัดหมวดหมู่ของวัตถุ ส่วนเรื่องเรขาคณิตนั้นเด็กปฐมวัยเรียนรู้เกี่ยวกับ มิติ ตำแหน่ง ผ่านการเล่นบล็อก และการเล่นอื่นๆ

เทคโนโลยี (Technology) เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและของเล่นต่างๆที่เป็นเทคโนโลยีซึ่ง เด็กการเรียนรู้ผ่านการเล่น เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือยนต์ต่างๆ การมีประสบการณ์จากสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็น เทคโนโลยีในบ้าน เช่น การถ่ายภาพ การถูกบันทึกภาพด้วยวีดีโอ การดูโทรทัศน์  สำหรับการเรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน และจากอุปกรณ์ ประกอบการทดลองง่ายๆ ได้แก่ แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ หลอดหยด เข็มทิศ ลูกตุ้มนาฬิกาสำหรับวาดภาพ กังหันลม
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ผ่านงานทางวิศวกรรมศาสตร์ในชีวิตประจำวันจาก สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การสร้างสะพาน การทำพื้นให้เอียงแบบสะพาน การทำถนนที่ส่งผลต่อความเร็วของ รถทำถนนที่มีความโค้ง ลาดชัน ถนนที่มีลูกระนาด การสร้างลิฟต์ หรือบันใดเลื่อน 
🌵 ภาพกิจกรรมกลุ่ม STEM


กลุ่มของดิฉันนำเสนอในหัวข้อ "STEM" 
โดยให้เด็กได้ทดลองสร้างเรือบรรทุกของ โดยใช้ดินน้ำมันและใช้เหรียญแทนสิ่งของที่บรรทุก 
💡 Evaluation
Teacher Evaluation วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรมการศึกษาและได้ให้คำแนะนำต่างๆ
Self-assessment : ดิฉันเข้าเรียนตรงต่อเวลา และได้นำเสนอนวัตกรรมการศึกษาในหัวข้อ "STEM"
Evaluate friends : วันนี้เรียนรวมเซกกับเพื่อนกลุ่ม 102 เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอนวัตกรรมการศึกษา และตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองานดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น