Flyff Chinese Index Finger Point Flyff Chinese Index Finger Point

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 7

     ☀ Monday, September 23, 2019 🌄
⏰ 08.30 - 12.30 PM


💡 The knowledge gained
    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรมการศึกษาของแต่ละกลุ่ม (ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว) นวัตกรรมการศึกษามีดังนี้ 
1. STEM     
2. High Scope
3. Executive Functions (EF)
4. Montessori Method
5. Project Approach 
🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
Executive Functions (EF)
ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน
🐳 EF สำคัญอย่างไร
     ฐานของทักษะ EF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมได้รับประโยชน์ จะช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และครอบครัว หากเด็กมีทักษะ EF เขาจะมีความสามารถในการคิด
🐳 กลุ่มทักษะ EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
     1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 
คือ ทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ 
     2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 
     3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 
คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
     4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
     5. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
     6. การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
     7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
     8. การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือ ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
     9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
🐳 เทคนิคในการสร้าง EF นั้น เริ่มจากการเลือกของเล่นให้ลูกเล่น กิจวัตรประจำวัน เช่น

  • ตัวต่อบล็อกไม้
  • เลโก้
  • หมากฮอส
  • หมากรุก
  • จิ๊กซอว์ แบบง่าย ๆ
  • ของเล่นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และมีรูให้หลอดลงในช่อง
    ของเล่นเหล่านี้ เป็นการพัฒนาความคิดของเด็ก หรือแม้แต่การทำงานบ้าน เช็ดพื้น หรือไม้กวาดให้เขาได้กวาดบ้าน เป็นการฝึกความรับผิดชอบ
"การเล่นของเล่น เป้าหมายของ EF คือ การเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยจนสำเร็จ"
🌵 ภาพกิจกรรมกลุ่มทักษะ EF

 อาจารย์ได้เสนอกิจกรรม " การออกแบบขาตั้งแทงค์น้ำ "
ให้เด็กได้ออกแบบขาตั้งแทงค์น้ำ ครูเตรียมอุปกรณ์ให้ ให้เด็กหยิบอุปกรณ์ที่ครูเตรียมให้มาออกแบบขาตั้งแทงค์น้ำ จากนั้นครูจึงประเมิน มีตัวชี้วัด เช่น ความสูง ความแข็งแรงของขาตั้ง การรับปริมาณน้ำหนัก เป็นต้น (เป็นการสอนเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก)

 เพื่อนได้มีเกม Quizizz ให้เพื่อนๆและอาจารย์ได้ทดสอบเล่น

🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
Project Approach
Project Approach (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง
💎 วิธีการสอนแบบ Project Approach
      เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็กๆโดยเฉพาะคุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็กๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ
      ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย
💎 การกำหนดหัวข้อโครงการ
    หัวข้อการเรียนรู้สามารถกำหนดได้จากเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันของตัวเด็กเอง เพราะทุกๆ คำถามที่เด็กถาม มักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กพบเห็นได้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวัน และในคำถามที่เด็กถาม คุณครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะและจะไม่ให้คำตอบทันทีกับคำถามที่เด็กถาม แต่คุณครูจะให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
     หากเด็กๆ มีข้อสงสัย คุณครูก็จะเป็นผู้แนะนำหรือชี้แนะ โดยใช้การระดมความคิดจากเด็ก ๆ ถึงความเป็นไปได้ในหัวเรื่องนั้นๆ เด็กบางคนที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ตรง อาจจะแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆฟัง และให้เด็กๆไปหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆเมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว เด็กๆก็จะนำข้อมูลที่ได้มาสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทีละหัวข้อ เพื่อที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กๆมีความเข้าใจในหัวข้อที่กำลังแลกเปลี่ยนกันหรือไม่
💎 การสอน 3 ระยะของ Project Approach 
     ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็กๆเพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็กๆจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆและแบ่งปันความรู้ให้กับเด็กๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ๆที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในห้องต่อไป
     ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
เป็นการจัดโอกาสให้เด็กๆได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ
     ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็กๆช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็กๆวางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่างๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็กๆว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป
สรุป "การสอนแบบ Project Approach  คือ กิจกรรมที่เน้นกระบวนการการลงมือปฏิบัติ และการใช้กระบวนการคิดที่เกิดจากการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากความสนใจของตัวเด็กเอง ที่เด็ก ๆ ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของหัวเรื่องที่เด็กเลือก อย่างมีความสุข สนุกสนาน และยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักทำงานอย่างมีแบบแผน"
🌵 ภาพกิจกรรมกลุ่มProject Approach

 กลุ่มเพื่อนนำเสนอโครงการโปรเจค "นม"

🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻
Montessori Method
  โรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method) คิดค้นและจัดตั้งขึ้นโดย แพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Dr.Maria Montessori) 
    การเรียนการสอนแบบ Montessori จึงมี “เด็ก” เป็นศูนย์กลาง
☀ หลักการของ Montessori
     1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
เพราะเด็กเเต่ละคนมีความเเตกต่างกัน ผู้ใหญ่จึงควรยอมรับเด็กในเเบบที่เขาเป็น เเละพัฒนาเด็กไปตามจุดเเข็ง
      2. เด็กที่มีจิตซึมซาบได้
จิตใจของเด็กในวัยนี้เรียนรู้ ซึมซับ ข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างได้ง่ายมากๆ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่เกิด ถึง 3 ขวบ ผ่านเประสาทสัมผัสด้าน การได้ยิน การชิม การดมกลิ่น และการสัมผัส
     3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต
ช่วงแรกจนถึง 6 ขวบเป็นช่วงสำคัญมากในการพัฒนาทั้งสติปัญญาเเละจิตใจ ในช่วงนี้ควรมีอิสระ ช่วงนี้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ดังนั้นควรหมั่นสังเกตความสนใจ เเละเตรียมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกัน
     4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
เด็กจะเรียนรู้ได้ดีในสภาพเเวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งการเรียนเเบบมอนเตสซอรี่จะมีการเตรียมสภาพเเวดล้อมให้เด็กๆ ไว้เป็นอย่างงดี
     5. การศึกษาด้วยตนเอง
มอนเตสซอรี่ มีความเชื่อว่า "ไม่ควรช่วยเด็กๆ ในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าทำได้" การศึกษาด้วยตนเองทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย ได้ทดลองแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง เเละทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ พร้อมทั้งเกิดการเห็นคุณค่าในตัวเอง
☀ หลักสูตรของโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
     การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่คำนึงถึงความต้องการของเด็กในการเรียน โรงเรียนจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง วิธีนี้เด็กจะได้พัฒนาตนเองจากสิ่งแวดล้อม และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จัดระบบไว้ให้ และสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้ให้นี้เองเป็นตัวที่ทำให้เด็กมีอิสระ การที่เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการค้นหาการเรียนรู้ ได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้
     อุปกรณ์การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ทั่วโลกจะใช้อุปกรณ์การสอนแบบเดียวกันทั้งหมด แต่สามารถให้ใช้อุปกรณ์บางอย่างที่ทำขึ้นจากวัสดุท้องถิ่นได้ ในห้องเรียนจะไม่มีโต๊ะและเก้าอี้ครู ภายในห้องมีชั้นวางของ ซึ่งอยู่ในระดับสายตาเด็กบนชั้นมีอุปกรณ์แบบมอนเตสซอรี่จัดวางไว้ เป็นหมวดหมู่ มีตำแหน่งการวางที่แน่นอน มีเพียงหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งอุปกรณ์เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักรอคอย
☀ จุดเด่นและกิจกรรมแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
     โรงเรียนมอนเตสซอรี่กิจกรรมถือเป็นส่วนสำคัญ ที่เด็กเล็กจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมด โดยเน้นทางด้านการฝึกฝนทางประสาทสัมผัส กิจกรรม หรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอน
   กิจกรรมแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เด็กจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย สิ่งสำคัญของเรียนแนวมอนเตสซอรี่ คือ มือ เพราะเด็กจะสามารถเรียนรู้ทุกอย่างผ่านมือของตัวเอง โดยมีครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เด็กจะรู้สึกมีอิสระในการหยิบจับอุปกรณ์ที่เขาสนใจมาทำ หากทำไม่ได้ เด็กจะนำไปเก็บและหยิบอุปกรณ์ชิ้นอื่นมาแทน ทั้งนี้การฝึกฝนจากอุปกรณ์ที่ง่ายไปสู่อุปกรณ์ที่ยากเป็นไปตามพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก 
☀ กิจกรรมมอนเตสซอรี่ มี 3 กลุ่ม
1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต 
    เน้นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ผ่านกิจกรรมเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เเละการช่วยเหลือตนเอง ซึ่งเด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย สมาธิ เเละพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
2. กลุ่มประสาทสัมผัส  
    ฝึกฝนให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จนเชื่อมโยงประสานกัน โดยให้เด็กๆ เรียนรู้ด้วยการสำรวจ ค้นหา สิ่งเเวดล้อมรอบๆ ตัว
3. กลุ่มวิชาการ 
    เน้นปูพื้นฐานด้านภาษาเเละคณิตศาสตร์ ผ่านการเรียนด้วยอุปกรณ์เฉพาะที่ Montessori ออกแบบเอง เช่น ฝึกเขียนจากประสาทสัมแบบใช้ตัวอักษรกระดาษทราย
🌵 ภาพกิจกรรมกลุ่มMontessori


 การหยิบ จับ สัมผัส สื่อ อุปกรณ์ ของเล่นอย่างช้าๆ สัมผัสมุมแต่ละมุม ไล่ลำดับจากสูงไปหาต่ำ ใช้ประสาทสัมผัสในการหยิบจับ

💡 Evaluation
Teacher Evaluation วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรมการศึกษา และได้ให้คำแนะนำต่างๆ
Self-assessment : ดิฉันเข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ และตั้งใจฟังที่อาจารย์ได้แนะนำ
Evaluate friends : วันนี้เรียนรวมเซกกับเพื่อนกลุ่ม 102 เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอนวัตกรรมการศึกษา และตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองานดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น